วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ระบบราชการไทยแบ่งองค์กรออกเป็น 3 ส่วน คือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 3 ส่วน ใช้หลักการรวมอำนาจปกครองและหลักการกระจายอำนาจผสมกัน กล่าวคือ ระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคใช้หลักรวมอำนาจปกครอง สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นใช้หลักการกระจายอำนาจปกครอง 4.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่ดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางว่า ได้แก่ สำนักรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ทบวงซึ่งสังกัดสำนักรัฐมนตรีหรือกระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 4.1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7 วรรคสอง บัญญัติให้มีสำนักรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวงและในวรรค 3 ของมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย ภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และไม่อยู่ภายใต้ กระทรวง ทบวง กรมใด ปัจจุบันมีส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ทั้งสิ้น 12 ส่วนราชการ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยส่วนราชการจำนวน 9 แห่ง คือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการอีก 3 แห่ง ซึ่งอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นกัน คือ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น อยู่ใต้บังคับบัญชาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักรัฐมนตรีและให้มีรองนายกรัฐมนตรี หรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ 4.1.2 กระทรวง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 บัญญัติกระทรวงมีส่วนราชการภายใน ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และหากกระทรวงใดมีความจำเป็นที่จะต้องมีส่วนราชการเพื่อจัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง ก็สามารถขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายใน ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้ ในกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรับสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนด อนุมัติ โดยจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ในกระทรวง มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง ในการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวง ให้มีรองปลัดกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย แต่ถ้าหากกระทรวงใดมีการจัดกลุ่มภารกิจ จะให้มีรองปลัดกระทรวง้พิ่มขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจก็ได้ หรือถ้าหากกระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้นก็อาจมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นได้ตามกระบวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สำนักงานรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ ในปัจจุบัน เมื่อนับรวมสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีฐานะดป็นกระทรวงด้วยแล้ว ประเทศไทยมีกระทรวงรวมทั้งสิ้น 20 กระทรวงด้วยกันคือ (๑) สำนักนายกรัฐมนตรี (๒) กระทรวงกลาโหม (๓) กระทรวงการคลัง (๔) กระทรวงการต่างประเทศ (๕) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (๖) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๗) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (๘) กระทรวงคมนาคม (๙) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๑๐) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๑๑) กระทรวงพลังงาน (๑๒) กระทรวงพาณิชย์ (๑๓) กระทรวงมหาดไทย (๑๔) กระทรวงยุติธรรม (๑๕) กระทรวงแรงงาน (๑๖) กระทรวงวัฒนธรรม (๑๗) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (๑๘) กระทรวงศึกษาธิการ (๑๙) กระทรวงสาธารณสุข (๒๐) กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นในหัวข้อ 4.1.1 ดังนั้น ในที่นี้จึงขอนำเสนออำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวงทั้ง 19 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 4.1.2.1 กระทรวงกลาโหม มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ส่วนการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมนั้น มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 มาตรา 10 กำหนดให้กระทรวงกลาโหมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมราชองครักษ์ (๔) กองทัพไทย โดยในกองทัพไทยนั้น มาตรา 17 พระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ประกอบด้วย ส่วนราชการดังต่อไปนี้คือ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ 4.1.2.2 กระทรวงการคลัง มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดินภาษีอากรการรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการคลังนั้น มาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงการคลัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมธนารักษ์ (๔) กรมบัญชีกลาง (๕) กรมศุลกากร (๖) กรมสรรพสามิต (๗) กรมสรรพากร (๘) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (๙) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (๑๐) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 4.1.2.3 กระทรวงการต่างประเทศ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการต่างประเทศนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการกงสุล (๔) กรมพิธีการทูต (๕) กรมยุโรป (๖) กรมวิเทศสหการ (๗) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (๘) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (๙) กรมสารนิเทศ (๑๐) กรมองค์การระหว่างประเทศ (๑๑) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ (๑๒) กรมอาเซียน (๑๓) กรมเอเชียตะวันออก (๑๔) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา 4.1.2.4 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานั้น มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (๔) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว 4.1.2.5 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัว และชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (๔) สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (๕) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ 4.1.2.6 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายใน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมชลประทาน (๔) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (๕) กรมประมง (๖) กรมปศุสัตว์ (๗) กรมพัฒนาที่ดิน (๘) กรมวิชาการเกษตร (๙) กรมส่งเสริมการเกษตร (๑๐) กรมส่งเสริมสหกรณ์ (๑๑) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๑๒) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (๑๓) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 4.1.2.7 กระทรวงคมนาคม มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงคมนาคมนั้น มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงคมนาคมมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (๔) กรมการขนส่งทางบก (๕) กรมการขนส่งทางอากาศ (๖) กรมทางหลวง (๗) กรมทางหลวงชนบท (๘) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 4.1.2.8 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน อนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมควบคุมมลพิษ (๔) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (๕) กรมทรัพยากรธรณี (๖) กรมทรัพยากรน้ำ (๗) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (๘) กรมป่าไม้ (๙) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (๑๐) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (๑๑) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.1.2.9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมไปรษณีย์โทรเลข (๔) กรมอุตุนิยมวิทยา (๕) สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4.1.2.10 กระทรวงพลังงาน มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพลังงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงพลังงานนั้น มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพลังงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (๔) กรมธุรกิจพลังงาน (๕) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (๖) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน 4.1.2.11 กระทรวงพาณิชย์ มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงพาณิชย์นั้น มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการค้าต่างประเทศ (๔) กรมการค้าภายใน (๕) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (๖) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (๗) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (๘) กรมส่งเสริมการส่งออก 4.1.2.12 กระทรวงมหาดไทย มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงมหาดไทยนั้น มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการปกครอง (๔) กรมการพัฒนาชุมชน (๕) กรมที่ดิน (๖) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๗) กรมโยธาธิการและผังเมือง (๘) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 4.1.2.13กระทรวงยุติธรรม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมเสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนการจัดรเบียบภายในกระทรวงยุติธรรมนั้น มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงยุติธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมคุมประพฤติ (๔) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (๕) กรมบังคับคดี (๖) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (๗) กรมราชทัณฑ์ (๘) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (๙) สำนักงานกิจการยุติธรรม (๑๐) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี (๑๑) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 4.1.2.14 กระทรวงแรงงาน มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงแรงงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงแรงงานนั้น มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงแรงงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการจัดหางาน (๔) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (๕) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (๖) สำนักงานประกันสังคม 4.1.2.15 กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงวัฒนธรรมนั้น มาตรา 37แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการศาสนา (๔) กรมศิลปากร (๕) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (๖) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 4.1.2.16 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น มาตรา 39แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (๔) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 4.1.2.17 กระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนการจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการนั้น มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 10 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4.1.2.18 กระทรวงสาธารณสุข มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงสาธารณสุขนั้น มาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการแพทย์ (๔) กรมควบคุมโรค (๕) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (๖) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (๗) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (๘) กรมสุขภาพจิต (๙) กรมอนามัย (๑๐) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 4.1.2.19 กระทรวงอุตสาหกรรม มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น มาตรา 45 มีแห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (๔) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (๕) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (๖) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (๗) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (๘) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี (๙) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 4.1.3 กรม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมไว้ว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแห่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรม โดยในกรมหนึ่งมีอธิบดีหนึ่งคนเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลตามเป้าหมาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะมีรองอธิบดีเพื่อช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการได้ กรมอาจแบ่งส่วนราชการได้เป็น 2 ประเภทคือ สำนักงานเลขานุการกรมและกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเทากอง โดยสำนักงานเลขานุการกรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมและราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีเลขานุการกรม ส่วนกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือส่วนราชการอื่นนอกเหนือจากนั้น ให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้มีผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือหัวหน้าส่วนราชการอื่นนอกจากนั้น เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 4.1.4 ส่วนราชการไม่มีสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้มี ส่วนราชการซึ่งไม่อยู่ในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง จำนวน 9 แห่งคือ (๑) สำนักราชเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ (๒) สำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการพระราชวัง ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ (๓) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๔) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๕) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๖) ราชบัณฑิตยสถาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ทางวิชาการและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๗) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๘) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๙) สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ส่วนราชการทั้งหมดมีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี เว้นแต่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 4.1.5 การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน โดยที่สภาพปัญหาของระบบราชการไทยที่ผ่านมาประการหนึ่งคือความล่าช้าในการปฏิบัติงานซึ่งมีผลทำให้ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานในภาคราชการว่าไม่โปร่งใส ประชาชนมีความไม่ไว้วางใจและเกิดความเบื่อหน่ยในการทำงานของภาคราชการ สาเหตุที่ทำให้การบริหารราชการมีความล่าช้านั้นเกิดจากหลายสาเหตุ และสาเหตุประการสำคัญประการหนึ่งคือ งานภาคราชการมีขอบเขตกว้างขวาง และมีขั้นตอนการปฏิบัติงานมาก ซึ่งการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ต้องแก้ไขด้วยการกระจายอำนาจการตัดสินใจ เพื่อมิให้ทุกเรื่องไปกระจุกตัวอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาเพียงผู้เดียว กล่าวคือถ้าเรื่องใดที่ต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการใดๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาตำแหน่งใด ก็ต้องให้มีการมอบอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆเหล่านั้นลงไปสู่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องนั้นโดยตรง แต่โดยที่มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เคร่งครัดมาก กล่าวคือได้กำหนดตำแหน่งของบุคคลเจ้าของอำนาจที่จะเป็นผู้มอบอำนาจและตำแหน่งของบุคคลผู้รับมอบอำนาจไว้ตายตัว จึงทำให้การมอบอำนาจดังกล่าวไม่สามารถมอบอำนาจให้แก่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนั้นโดยตรง ตัวอย่างเช่น ในเรื่องการอนุมัติ หรือการออกใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการบางอย่างซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของอิบดี กรณีเช่นนี้แม้ว่าจะเป็นอำนาจตามกฎหมายแต่ก็มิใช่อำนาจเฉพาะตัว แต่อธิบดีสามารถมอบอำนาจการออกใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่รองอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าได้ตามมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เท่านั้น จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวข้างต้นทำให้การมอบอำนาจมีการกระจุกตัวและเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ในปัจจุบันกระทรวงต่างๆ ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอืนใดให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างมาตรการในการลดขั้นตอนในการขอรับบริการจากภาครัฐในการที่ประชาชนไม่ต้องลำบากและเสียเวลาในการติดต่อกับราชการ แต่ปรากฏว่ามีงานบริการหลายเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นกระบวนงานได้ที่ศูนย์บริการร่วม โดยจะต้องส่งกลับไปยังผู้มีอำนาจวินิจแยของแต่ละส่วนราชการเพื่อสั่งการ อนุมัติ หรืออนุญาตก่อน ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการแก่ประชาชน ฉะนั้น จึงควรที่จะให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติ การอนุญาต การออกคำสั่ง การปฏิบัติราชการหรือดำเนินการอื่นตามกฎหมาย หรือกฎอื่น สามารถมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมดังกล่าวได้ จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวข้างต้น จึงมีการแก้ไขในส่วนของหลักการในเรื่องการมอบอำนาจใหม่ โดยไม่จำกัดตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจทำให้สามารถมอบอำนาจลงไปได้ถึงระดับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง การกำหนดให้มีการมอบอำนาจต่อได้ รวมทั้งให้มีการมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวมากขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติแยกการมอบอำนาจออกเป็น 2 ลักษณะคือ การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการทั่วไป และการมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายที่บัญญัติให้ออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ 4.1.5.1 การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการทั่วไป บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ดังนี้ มาตรา 38 อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งอาจกำหนดให้มีการมอบอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดจนการมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมสัญญา ฟ้องคดีและดำเนินคดี หรือกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการมอบอำนาจหรือที่ผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติก็ได้ 4.1.5.2 การมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายทีบัญญัติให้ออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ การมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายได้บัญญัติไว้มาตรา 38 วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยเฉพาะพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 ดังต่อไปนี้ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับอำนาจในการอนุญาตตามกฎหมายที่บัญญัติให้ต้องออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวมีอำนาจมอบอำนาจให้ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตามที่เห็นสมควร หรือตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในกรณีมอบอำนาจได้ต่อไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้มอบอำนาจกำหนด ในกรณีตามวรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดรายชื่อกฎหมายที่ผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวอาจมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็ได้” 4.1.5.3 วิธีการมอบอำนาจ มาตรา 38 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญัติให้การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ 4.1.5.4 การมอบอำนาจช่วง มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงการมอบอำนาจช่วงไว้ว่าเมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น โดยผู้มอบอำนาจจะกำหนดให้ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ในกรณีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมอบอำนาจต่อไปให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดก็ได้ 4.1.6 การรักษาราชการแทน มาตรา 41 ถึงมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดถึงหลักเกณฑ์การรักษาแทนในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือกรณีมีตำแหน่งว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดเข้ามาดำรง....ไว้ สรุปได้ดังนี้คือ (1) ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน (2) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง (ซึ่งอาจจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอื่นก็ได้) เป็นผู้รักษาราชการแทน (3) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกระทรวงหลายคน ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า (เช่น ผู้ตรวจราชการระดับ 10 หรืออธิบดีกรมหนึ่งกรมใด) เป็นผู้รักษาราชการแทน (4) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิบดีหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองอธิบดีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี (เช่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ) หรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้านายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเห็นสมควรเพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการฏิบัติราชการในกรมนั้น นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่า ( ซึ่งอาจจะอยู่ที่กรมอื่น ) เป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้ (5) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ อธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดีหรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนได้ (6) ให้ผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผึ่งตนแทน (7) ในกรณีที่ผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งใดมอบอำนาจให้ผุ้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจ (8) ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทน เชิงอรรถ 1. มาตรา 10 วรรค 2 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2. มาตรา 20 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 3. มาตรา 21 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 4. มาตรา 22 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 5. มาตรา 23 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 6. มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กร พ.ศ. 2545 7. มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 8. มาตรา 33 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 9. มาตรา 33 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2550, สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, กุทชมภาพันธ์ 2551

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรมไทย

ในวาระ ศาลยุติธรรมสถาปนาครบรอบ 128 ปี สำนักงานศาลยุติธรรมจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง "ศาลยุติธรรม ความคาดหวังของสังคมไทย" ที่ห้องประชุมชั้น 7 อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 21 เม.ย.โอกาสนี้ นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา เป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้การอยู่ ร่วมกันของมนุษย์ไม่ว่าระดับสังคมหรือประเทศ ต้องมีกฎระเบียบตามสุภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั่นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย"ประเทศชาติเหมือนกัน ไม่ว่าประเทศใดในโลกปกครองด้วยระบอบใด ต้องมีกฎระเบียบ กฎหมายปกครองประเทศทั้งนั้นสิ่งสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองในแบบนิติรัฐ เป็นการปกครองโดยกฎหมายที่ออกแบบโดยประชาชนหรือตัวแทนประชาชน การใช้อำนาจรัฐต้องมีกฎหมายให้อำนาจ ถ้าไม่มีแล้วจะทำไม่ได้ โดยเฉพาะการเข้าไปก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพของประชาชนสรุปได้ว่าการปกครองแบบนิติรัฐ คือ ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจประการต่อมา ต้องมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนประการที่ 3 มีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันประการที่ 4 ต้องมีผู้พิพากษาที่เป็นอิสระ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ความยุติธรรมกับประชาชนที่มีข้อพิพาทองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองแบบนิติรัฐ และจะมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริงได้ ต้องประกอบด้วยหลักสำคัญอีกประการ คือ หลักนิติธรรมถ้าจะบอกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนอย่างเดียว ผมเห็นว่ายังไม่เพียงพอ ต้องเป็นการปกครองแบบนิติรัฐควบคู่ไปกับหลักนิติธรรม ซึ่งปัจจุบันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยอดีตมักพูดกันเฉพาะตัวกฎหมาย แต่ไม่พูดถึงความถูกต้องชอบธรรมขณะที่มาตรา 3 รัฐธรรมนูญปี"50 บัญญัติว่าการทำหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม คือการปกครองโดยกฎหมายซึ่งเป็นธรรมประการแรก คือ กฎหมายที่ใช้บังคับต้องออกมาเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวประการที่สอง การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความยุติธรรม เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ คือไม่ให้สิทธิคนหนึ่งดีกว่าอีกคนหนึ่งประการที่สาม ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องมีความรู้ มีความยุติธรรม คือเป็นผู้ที่มีความเก่งและความดีและประการที่สี่ การบังคับใช้กฎหมายต้องมีกระบวนการยุติธรรมตรวจสอบโดยองค์กรที่เป็นอิสระและ เป็นกลางขณะที่ความสำคัญขององค์กรตุลาการ ปรากฏในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่ประธานศาลฎีกานำผู้พิพากษาเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณในการเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันที่ 15 พ.ค.51 ทรงกล่าวไว้มีความตอนหนึ่งว่า"บ้านเมืองต้องมีผู้พิพากษา ต้องมีผู้รักษาความยุติธรรม ต้องมีศาลเพื่อรักษาความยุติธรรมนี้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าในบ้านเมืองถ้าไม่มีความยุติธรรม บ้านเมืองก็จะล่มจม"บทบาทภาระหน้าที่ขององค์กรตุลาการศาลยุติธรรมนั้น คือการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ความยุติธรรมต่อประชาชนที่มีข้อพิพาทการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ศาลต้องมีผู้พิพากษาที่เป็นอิสระ เที่ยงธรรม และมีความสามารถบทบาทและหน้าที่ขององค์การตุลาการหรือศาลยุติธรรม ปรากฏชัดเจนอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติ ธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์เรื่องนี้มีบัญญัติในประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการ ในหมวด 1 ว่าด้วยอุดมการณ์ผู้พิพากษาที่กล่าวว่า "หน้าที่สำคัญของผู้ พิพากษาในวิชาชีพก็คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี"ซึ่งคำว่า "ยุติธรรม" เป็นหัวใจของวิชาชีพตุลาการและเป็นจริยธรรมอุดมการณ์ที่นักกฎหมาย ไม่ว่าประกอบวิชาชีพแขนงใดต้องยึดถือปฏิบัติ โดยความยุติธรรมเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรตุลาการ และเป็นความหวังของทุกคนในสังคม ไม่ว่าคนยากจน คนรวย คนดี หรือคนไม่ดี ต่างหวังความยุติธรรมจากองค์กรตุลาการหรือศาลยุติธรรมบุคคลที่ ล่วงละเมิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรืออาญา ต่างต้องการความยุติธรรมว่าการละเมิดกฎหมายของเขาควรต้องได้รับผลที่เป็น ธรรมตามความเป็นจริงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 20 เม.ย.30 ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อครั้งประธานศาลฎีกานำ ผู้พิพากษาเข้าเฝ้าฯ ด้วยว่า"คำว่ายุติธรรมนั้นเป็นคำที่แปลว่าการตกลงพิจารณาในทางที่ถูกต้องตามธรรมะ และธรรมะนี้ก็หมายความว่าสิ่งที่ควรจะปฏิบัติให้นำความเจริญแก่มวลมนุษย์ ในการปฏิบัตินี้ก็จะต้องมีความเที่ยงตรงและปราศจากอคติ"นอกจากนี้ พระองค์ยังคงมีพระราชดำรัสอีกตอนหนึ่งว่า"บ้านเมืองนี้ต้องมีความยุติธรรม เพราะถ้าไม่มีความยุติธรรมก็จะต้องมีความเดือดร้อน จะต้องมีความไม่สงบ ยุติธรรมก็หมายความว่าธรรมะ คือสิ่งที่ถูกต้องและยุติก็ยุติ ก็หมายความว่าดูได้ว่าอะไรเป็นธรรม อะไรไม่เป็นธรรม"ความยุติธรรม จึงเป็นการยุติในธรรมะ การยุติความขัดแย้งต่างๆ ให้เป็นไปตามธรรมะซึ่งธรรมะเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ การยุติข้อขัดแย้ง ต่างๆ ให้เป็นไปตามธรรมะ จึงเป็นวิถีการของมนุษย์และรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ นำไปสู่ความสงบสุขของมนุษย์และสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาโดยความยุติธรรมมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่ามนุษย์นั้นจะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐหรือเป็นประชาชน และการใช้ความยุติธรรมแก่ทุกคนต้องเป็นในทุกมิติ ทั้งฝ่ายรัฐกับรัฐ รัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชนการอำนวยความยุติธรรมขององค์กรตุลาการและผู้พิพากษานั้น สิ่งสำคัญคือสังคมต้องเชื่อถือศรัทธาในองค์กรตุลาการและผู้พิพากษาที่ทำ หน้าที่อำนวยความยุติธรรมนั้นโดยผู้พิพากษาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ซื่อ สัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบัน ตุลาการที่สำคัญต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่า ตนได้ปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของระบบศาลยุติธรรมสาระสำคัญการอำนวยความยุติธรรมของผู้พิพากษาตุลาการจึงอยู่ที่การดำรงตน ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่และในด้านส่วนตัวที่จะต้องยึดมั่นในหลักธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างความเชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชนให้ยอมรับการอำนวยความยุติธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวัง

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 18 กันยายน พ.ศ. 2551)
นาย
สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1 (7) เนื่องจากการที่นายสมัครได้จัดรายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181นโยบายและผลงาน
เสนอนโยบายการผันแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ โดยการสร้างใช้หัวเจาะกระสนกันน้ำซึมเข้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเจาะอุโมงค์แบบรถไฟใต้ดิน คาดว่าปริมาณแม่น้ำโขงจะไหลผ่านอุโมงค์นี้ และแจกจ่ายไปตามโครงข่ายลำน้ำอื่นๆ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคในภาคอีสาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ถ้าอีสานมีน้ำ อีสานหายจน"
รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลทักษิณทำไว้กลับมาใช้อีกครั้ง
ความมั่นคง
การประนีประนอมกับทหาร โดยสมัคร กล่าวว่า มีความตั้งใจที่จะออกพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 อยู่แล้ว และจะไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการเรื่องโผการโยกย้ายนายทหาร โดยจะปล่อยให้ทางทหารนั้นจัดการกันเอง ซึ่งทำให้ทางทหารแสดงท่าทีเป็นมิตรกับนายสมัครด้วย
เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความเป็นธรรม การพัฒนาการศึกษา พัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่
เศรษฐกิจ
ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%
ลดราคาสินค้าหมูเนื้อแดงขายจาก 120 บาท ต่อ กก. เหลือเพียง 98 บาท ต่อ กก.
มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
มาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมโดยการทำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนรัฐบาลที่นำโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา
สิทธิมนุษยชน
ใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาด
เสนอให้มีเปิดการบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับทั้งความเห็นชอบและคัดค้านจากหลาย ๆ ฝ่ายเป็นอย่างมาก

อื่นๆ
รายการ "
สนทนาประสาสมัคร"
รายการ "
ความจริงวันนี้"
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
นายสมัครยอมรับว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ "ขี้เหร่นิดหน่อย" เพราะพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยให้โอกาส แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะเชิญมาร่วมรัฐบาลแล้วเช่นกรณีที่อยากให้น้องชาย
จาตุรนต์ ฉายแสง (วุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แต่พรรคเพื่อแผ่นดินไม่ยอม
ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าววิเคราะห์การเมืองไทยและวิพากษ์รัฐบาล โดยกล่าวว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่ตัวจริง เป็นรัฐบาลนอมินีที่ควรเรียกว่ารัฐบาลลูกกรอก ที่เกิดจากการปลุกเสกของผู้มีอำนาจ ทำให้รัฐบาลนี้ซื่อสัตย์และจงรักภักดี โดยมี "รักเลี๊ยบและยมมิ่ง"เป็นผู้นำ (รักเลี๊ยบ หมายถึง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง ส่วนยมมิ่ง หมายถึงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์) ขณะเดียวกันก็มีหัวหน้าคณะลูกกรอกอยู่ 2 ตนเป็นกุมารทองคะนองฤทธิ์ ตนแรกเป็นกุมารทองคะนองปาก (หมายถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี) คอยทะเลาะสร้างศัตรูไปทั่วทุกกล่ม ส่วนกุมารทองตนที่สองคือ กุมารทองคะนองอำนาจ (หมายถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย) ชอบอยู่กระทรวงที่มีอำนาจ เชื่อมั่นว่าอำนาจจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องเกรงใจใคร
ข้อวิพากษ์ดังกล่าวทำให้
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการวิจารณ์รัฐบาลของนายธีรยุทธว่ามีคุณค่าทางวิชาการน้อยมาก เป็นแค่การโชว์ความสามารถในการคิดถ้อยคำเท่านั้น และนายธีรยุทธ มักจะมองการเมืองในแง่ร้ายเสมอ
การชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล
ดูบทความหลักที่
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กล่าวหาว่าทางรัฐบาลขาดคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารชาติบ้านเมือง เป็นรัฐบาลตัวแทนของระบอบทักษิณ ที่เน้นบริหารชาติบ้านเมืองเพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยการชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมครั้งสุดท้าย พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนมาเข้าร่วมให้มากที่สุด 25 พฤษภาคม 15.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นเคลื่อนย้ายไปที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนราชดำเนินนอก เมื่อเวลา 21.20 น. ขณะที่พันธมิตรฯกำลังมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาลนั้น ทางตำรวจได้พยายามสกัดกั้นไม่ให้เคลื่อนผ่านไปได้ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรเองก็มีวิธีการรับมือกับตำรวจ ขณะที่เดินขบวนไปนั้น ได้มีฝ่ายตรงข้าม ตั้งเวทีย่อยบนรถ 6 ล้อ ด่าทอพันธมิตรฯ และขว้างปาสิ่งของไปมาเป็นระยะๆ ส่งให้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย จนกระทั่ง ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที พิธีกรของเอเอสทีวี ถูกกลุ่มผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตก จนต้องหามส่งไปยังโรงพยาบาลกรุงเทพ
26 พฤษภาคม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าชื่อร่วมถอดถอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ลงชื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา
30 พฤษภาคม เป็นวันชุมนุมใหญ่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศที่จะยกระดับการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสมัครลาออกทั้งคณะ เพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น และยังกล่าวหาด้วยว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่อยู่ 12 ประการ หลังจากนั้น สมศักดิ์ โกศัยสุข ขึ้นเวทีปราศัยแล้วประกาศต่อสู้กับรัฐบาลสมัครขั้นแตกหัก โดยสั่งให้ผู้ชุมนุมทุกคนปักหลักชุมนุมต่อไป
1 มิถุนายน 15.50 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาย้ำจุดยืนบนเวทีพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และจะไม่ย้ายสถานที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้ตำรวจจะเปิดทางให้ก็จะไม่ไป ซึ่ง พล.ต.จำลองกล่าวว่า
"เราอยู่ตรงนี้ดีแล้ว เราจะกินนอนที่นี่ ภูมิประเทศแถวนี้ผมรู้ดีกว่าตำรวจ สมัยเป็นนักเรียนนายร้อยเดินไปเดินมาบริเวณนี้ตั้ง 5 ปี ส่วนที่ทำเนียบก็เคยทำงานการเมืองมาหลายสมัย จึงรู้ทำเลดีกว่าตำรวจแน่"

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการ
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่
19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้ พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล 2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ 2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์ 2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์ 2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร 2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร 2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร 2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ * คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534) การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 " คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481 ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491 จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491 พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516 การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว กบฎ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520 กบฎ 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้ การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528 พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ
ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่
สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

76 ปี ประชาธิปไตยไทย การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้
เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า
"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"
"ฯลฯ.......เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"
คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า
จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)
จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น
จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า "ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"
วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า
"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"
76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงามความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะ
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะ
วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน [1] แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ
[2]
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่
1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์